วัดเจ็ดยอด

ประวัติความเป็นมา

วัดเจ็ดยอด เดิมเรียกว่าวัดมหาโพธารามเป็นวัดที่มีมาก่อนพุทธศตวรรษที่ 20 และมีความสำคัญอย่างยิ่งในประวัติศาสตร์ล้านนา เป็นแหล่งรวมศิลปสถาปัตยกรรมที่มีความงดงาม

มีความสำคัญในด้านพระพุทธศาสนา โดยเป็นสถานที่กระทำสังคายนาพระไตรปิฎก ครั้งที่ 8 ของโลก เมื่อ พ.ศ. 2020 และ เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระผู้เป็นปราชญ์ทาง พระพุทธศาสนาและภาษาบาลี ได้แก่ พระศิริมังคลาจารย์ผู้รจนาคัมภีร์สำคัญๆ เช่น เวสสันดรทิปนี ฎีกาสังขยาปกาสก และมังคลัตถทิปนี ซึ่งเรื่องหลังใช้เป็นหลักสูตรการศึกษาพระปริยัติธรรม เปรียญธรรม 4 ประโยค และเปรียญธรรม 5 ประโยคในปัจจุบัน และ อีกท่านหนึ่งคือ พระรัตนปัญญาเถระผู้รจนาคัมภีร์ชิน กาลมาลินีหรือชินกาลมาลีปกรณ์ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่ถวายพระเพลิงพระบรมศพของพระเจ้าติโลกราชมหาราชผู้ยิ่งใหญ่อีกพระองค์หนึ่งของล้านนา

ในรัชสมัยพระเจ้าติโลกราช พ.ศ. 1999 โปรดฯ ให้สร้างพระอารามชื่อวัดโพธารามมหาวิหาร เพื่อเฉลิมฉลองพระพุทธศาสนา 2000 ปี โดยโปรดฯ ให้หมื่นด้ามพร้าคต นายช่างใหญ่แม่กองผู้คุมการก่อ สร้างพระเจดีย์หลวง ไปจำลองแบบมหาวิหาร และ สถานที่สำคัญเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา 7 แห่งที่เรียก ว่า สัตตมหาสถานจากประเทศอินเดีย แล้วก่อสร้าง สัตตมหาสถาน ณ วัดโพธารามมหาวิหาร

ลักษณะความสำคัญ/จุดเด่น

โบราณสถานที่สำคัญมีดังนี้

1. มหาวิหาร (พระเจดีย์เจ็ดยอด) ซึ่งเป็น ที่มาของวัดเจ็ดยอด สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช รูปทรงและลักษณะโดยทั่วไปคล้ายมหาวิหารพุทธคยา ในประเทศอินเดีย สันนิษฐานว่าพระเจ้าติโลกราช โปรดให้ช่างไปจำลองแบบมาจากเมืองพุกามในพม่า มหาวิหารหลังนี้มีโครงสร้างก่อด้วยศิลาแลง ซึ่งแตกต่างไปจากพระเจดีย์และพระธาตุต่าง ๆ ในล้านนาและ เมืองเชียงใหม่ ที่สร้างด้วยอิฐ มีลายปูนปั้นแบบนูนต่ำ และกึ่งลอยตัว เป็นรูปเทวดาในอิริยาบถ ยืนและนั่ง พนมมือคล้ายกระทำทักษิณาวัฏอยู่รอบผนังมหาวิหาร ถือได้ว่าเป็นงานศิลปกรรมขึ้นสำคัญยิ่งชองเมืองเชียงใหม่

2. ซุ้มประตู หรือโขง ลักษณะเป็นประตูกำแพงขนาดใหญ่ ส่วนบนก่ออิฐเป็นวงโค้ง ปัจจุบัน หักพังลงบางส่วน มีลวดลายปูนปั้นแบบล้านนา ประดับอย่างสวยงาม เป็นซุ้มประตูสมัยล้านนาเดิมที่ ยังคงสภาพเหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในเมืองเชียงใหม่

3. อนิมิสเจดีย์ เป็นส่วนหนึ่งในสัตตมหาสถาน สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าติโลกราช เมื่อคราวฉลองพระพุทธศาสนา 2000 ปี ลักษณะคล้ายเจดีย์ที่วัดกู่กุด จ.ลำพูน เป็นเจดีย์แปดเหลี่ยมย่อชั้นขึ้นไป มีซุ้มประดิษฐานพระพุทธรูปโดยรอบ

4. มณฑปพระแก่นจันทน์แดง คือ บริเวณที่เคยประดิษฐานพระแก่นจันทร์แดงพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์

กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนโบราณ สถานใบราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478

กิจกรรมในเชียงใหม่